E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร (ข้อมูลจาก กศน.บ้านแพรก) | |
E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของเซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย | |
ลักษณะโดยทั่วไปของ EM เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง | |
ลักษณะการผลิต เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง - กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค - กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน - กลุ่มจุลินทรีย์เอคทีโนมัยซีทส์ - กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีต | |
ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป ด้านการเกษตร - ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ - ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ - ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี - ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ่ญ (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ - ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น - ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ - ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม. - ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ - ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน - ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้ - ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ | |
ด้านการประมง - ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ - ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้ - ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้ - ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี | |
ด้านสิ่งแวดล้อม | |
- ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้ - ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย - ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้ | |
การเก็บรักษาจุลินทรีย์ สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 C ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม | |
ข้อสังเกต หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้) กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่ผักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M. เหมือนเดิม | |
การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ การงานต่าง ๆ ดังนี้ งานด้านเกษตร | |
E.M.ผสมน้ำ 1 : 1,000 – 2,000 ฉีดพ่นรดราดต้นไม้ สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง การขยายจุลินทรีย์ เมื่อต้องการใช้จุลินทรีย์ในงานเกษตรที่มีเนื้อที่มาก ๆ ควรใช้จุลินทรีย์ที่ได้ขยายปริมาณให้มากขึ้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน โดยให้อาหารแก่จุลินทรีย์ ได้แก่ กากน้ำตาล น้ำอ้อย น้ำตาลทรายแดง นมแดง นมข้นหวาน หรือน้ำซาวข้าว เป็นต้น การขยายจุลินทรีย์ให้กับพืช วัสดุ จุลินทรีย์ กากน้ำตาล อย่างละ 1 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตร วิธีทำ ผสมกากน้ำตาลกับน้ำที่สะอาด คนให้ทั่วจนกากน้ำตาลละลายหมด น้ำ E.M. ผสมในน้ำคนจนเข้ากันทั่ว ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 – 3 วัน ภาชนะที่ใช้ต้องสะอาดจะใช้ถังพลาสติกหรือตุ่ม วิธีใช้ เมื่อหมักไว้ตามกำหนดที่ต้องการแล้ว นำ E.M. ที่ขยายไปผสมกับน้ำละลายอีกในอัตรา EM1/น้ำ 2,000 ลิตร ฉีดพ่นรดต้นไม้ พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด ทุกวันหรือวันเว้นวันหรือสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ใช้หญ้าแห้วหรือใบไม้แห้งหรือฟางคลุมดินบริเวณโคนต้นไม้ เพื่อรักษาความชื้นและ EM ย่อยสลายเป็นอาหารของพืช และเพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นด้วย ข้อสังเกต 1. เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำ และกากน้ำตาลจะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2 – 3 วัน ถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล 2. EM ที่นำไปขยายเชื้อแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 3 วัน หลังจากหมักได้ที่แล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพ ที่อาจเกิดจากความไม่สะอาดของน้ำ ภาชนะ และสิ่งแปลกปลอมจากอากาศเฉพาะเชื้อ EM ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ |
ปุ๋ยชีวภาพ (ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร) ปุ๋ยเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญ ในการผลิตพืช เนื่องจากปุ๋ยเป็นอาหารของพืช สามารถจำแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ในการเลือกใช้ปุ๋ยนั้น เกษตรกรควรศึกษา ข้อดี และข้อเสีย ของปุ๋ยแต่ละประเภท ก่อนเลือกใช้ปุ๋ยแต่ละชนิดปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดและอายุของพืช ความชื้นในดิน คุณสมบัติของดิน และวิธีการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน จะเป็นแนวทางที่สามารถช่วยให้เกษตรกรได้รับทั้งผลตอบแทนที่สูงสุด เสริมสร้างระบบการผลิตพืชแบบยั่งยืนและความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อม
คำนิยามปุ๋ย ความหมายโดยทั่วไป ปุ๋ย หมายถึง วัตถุหรือสารที่เราใส่ลงไปในดิน โดยมีความประสงค์ที่จะให้ธาตุอาหาร เพิ่มเติมแก่พืช ให้มีปริมาณที่เพียงพอ และสมดุลตามที่พืชต้องการใน พรบ.ปุ๋ย ปี 2518 ได้ให้คำจำกัดความปุ๋ยไว้ว่า หมายถึง สารอินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช
ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม และปุ๋ยเชิงประกอบ และหมายความตลอดถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ หรือยิบซั่ม
ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากอินทรียวัตถุ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธี ทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อนหรือวิธีการอื่น ๆ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ
ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช หรืออาจเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์ (ยุทธศาสตร์ปุ๋ยชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร. 2548-2553)
ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ ช่วยทดแทนปุ๋ยเคมีในพืชตระกูลถั่ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ใส่เพียงครั้งเดียวตลอดชีวิตพืช ช่วยสร้างความสมดุลของธาตุอาหารพืช ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ราคาถูก
ขั้นตอน การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองจับเต่า
สิ่งที่นักเรียนต้องทำกิจกรรม
1.นำเศษผักที่เหลือจากการขายหรือเศษผักที่เก็บมาจากสวนผักที่เขาคัดออกมาจากบ้าน(หาที่ไหนมาก็ได้)
2.นำผักมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อช่วยในการย่อยสลายได้ง่าย
3.นำเศษผักมาผสมคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล ในอัตราส่วนผสม เศษผัก 3 กิโลกรัม : กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
4.นำไปหมักไว้ในถังหมักเป็นเวลา 3 เดือน จึงสามารถนำน้ำชีวภาพไปใช้ได้