Ad

Right Up Corner

Ad left side

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

รวมสูตรปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ

รวมสูตรปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ

สูตรที่ 1 คุณสมยศ รักษาวงศ์
ส่วนผสม : ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน + กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน
วิธีผสม : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
การใช้ประโยชน์
1. ปุ๋ยชีวภาพแห้ง

ส่วนผสม : เศษวัสดุจากพืช 10 ปี๊บ + แกลบ 10 ปี๊บ + มูลสัตว์ 10 ปี๊บ + รำอ่อน 1 ปี๊บ + น้ำหมักพืช 1 ช้อนแกง + กากน้ำตาล 4 ช้อนแกง + น้ำ 1 ถังฝักบัว (18 ลิตร)
วิธีผสม : นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันนำน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล รดให้ทั่ว ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลอมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้ แล้วเกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ยแสดงว่า จุลินทรีย์เริ่มทำงานทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออกคลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม อีก 3 - 4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็นถือว่า ใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้

2. ปุ๋ยคอกหมัก
วิธีทำ : นำมูลสัตว์ แกลบเผา และรำละเอียดมาผสม เข้าด้วยกัน นำน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลผสมน้ำรดกองปุ๋ยที่ผสมคลุกให้ทั่วให้มีความชื้นระดับเดียวกับ การทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาไม่เกิน 15 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3 - 5 วัน โดยไม่ต้องกลับเมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้

3. สารขับไล่แมลง
3.1) สูตรทั่วไป ส่วนผสม : นำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล เหล้าขาว น้ำส้มสายชู อย่างละ 1 ขวด (ขวดกลม) และน้ำสะอาด 10 ขวด
วิธี ทำ : ผสมส่วนผสมให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ 15 วัน (ควรมีฝาปิดมิดชิด) ระหว่างการหมัก (ช่วง 15 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า - เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้นและเพื่อระบายแก๊สออกครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือน โดยไม่ต้องเปิดฝาระบายแก๊สเป็นครั้งคราว
การใช้ประโยชน์ : นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกงผสมกับน้ำ 10 ลิตร จากนั้นนำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น สำหรับพืชที่กำลังแตกใบอ่อนให้ใช้ในอัตราส่วนที่เจือจางลงโดยหัวเชื้อที่ผสม น้ำแล้วหากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตระไคร้หอม ยาสูบโดยนำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

3.2) สูตรเข้มข้น วิธีทำ : ใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา แต่เพิ่มปริมาณเหล้าขาวเป็น 2 ขวด
การ ใช้ประโยชน์ : ใช้ฉีดพ่นปราบหนอน และแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนกอกลม หนอนชอนใบ ฯลฯ โดยใช้สัดส่วนหัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว ต่อน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม หรือใช้กำจัดเหาในศีรษะคน โดยเอาน้ำราดผมให้เปียกแล้วชะโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้นผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักไว้ 30 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด หรือใช้กำจัดเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยง
4. ฮอร์โมนพืช
ส่วนผสม : ประกอบด้วย กล้วยน้ำว้าสุก /ฟักทองแก่จัด /มะละกอสุก อย่างละ 1 ก.ก. น้ำหมักพืช 2 ช้อนแกง กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และน้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีทำ : สับกล้วย ฟักทอง และมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้ละเอียด (ส่วนแรก) จากนั้นนำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำสะอาดให้เข้ากัน (ส่วนที่สอง) จากนั้นนำส่วนผสมทั้งสองส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงปุ๋ยโดยหมักไว้ในถังพลาสติกปิดฝาระยะเวลา 7 - 8 วัน
การ ใช้ประโยชน์ : นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก (ในถังพลาสติก) ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ในช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถุงปุ๋ย ใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี

การประยุกต์ใช้กับพืชการเกษตร
1. ข้าว ในพื้นที่นาข้าว 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 ก.ก. โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้
- ไถ่พรวน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 ก.ก. (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว จากนั้นนำน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากน้ำหมักพืช 2 แก้ว กากน้ำตาล 2 แก้ว ในน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่นให้ทั่วแล้วไถพรวน ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำหมักพืชทำการย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ด ข้าว เมื่อไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำหมักพืช และกากน้ำตาล ในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบเพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถคราดเพื่อดำนาต่อไป
- ไถคราด พ่นน้ำหมักพืชผสมกากน้ำตาลและน้ำ อัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไถคราดให้ทั่วเพื่อเตรียมปักดำ
- หลังปักดำ 7-15 วัน ให้หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 1 ถังแดงต่อน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
- ข้าวอายุ 1 เดือน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 1 ถังแดงต่อน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
- ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย หว่านปุ๋ยชีวภาพ 40 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล อย่างละ 1 แก้ว
- การป้องกันศัตรู ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืดหรือช่วงเย็น หรือถ้ามีต้องการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ ให้เตรียมจากส่วนผสมของยาฉุน 2 - 3 ก.ก. + หนอนตายยาก 1 ก.ก. + น้ำสมสายชู 1 ลิตร + หล้าขาว 1 ขวด + กากน้ำตาล 1 ขวด หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 วัน แล้วฉีดพ่นในแปลงนาระยะปล่อยน้ำเข้า ช่วงเตรียมดินในอัตราส่วน 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

หมายเหตุ : ต่อพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 ก.ก. ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่เมื่อดินคืนสภาพสู่ความอุดมสมบูรณ์ดีแล้วปีต่อๆ ไป จะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรกอาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ แต่ในช่วงปีต่อไปๆ ไปปริมาณ ผลผลิตสูงขึ้นเรื่อย ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และเพิ่มปริมาณผลผลิต
2. ผักสวนครัว
- โรยปุ๋ยชีวภาพ 2 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับ
- รดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงลงมือปลูก
- โรยปุ๋ยชีวภาพซ้ำรอบๆ ทรงพุ่ม (อย่าให้โดนใบหรือโคนต้น) เดือนละ 1 - 2 ครั้ง
- รดน้ำผสมน้ำหมักพืช อัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว สัปดาห์ ละ 1 - 2 ครั้ง
- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลง กากน้ำตาล (เพื่อช่วยจับใบ) ผสมน้ำฉีดพ่นเมื่อมีศัตรูพืชระบาด

3. ไม้ผลและไม้ยืนต้น
วิธีใช้ : ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม จำนวน 2 กำมือ คลุกกับดินก้นหลุมให้เข้ากัน รดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช (น้ำหมักพืช 1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร) ทิ้งไว้ 7 วัน จึงลงมือปลูกคลุมโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้วให้พรวนดิน และโรยปุ๋ยซ้ำรอบทรงพุ่ม ต้นละ 2 ก.ก. ต่อปี พร้อมกับรดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชเป็นระยะๆ

4. การแก้ปัญหาวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
วิธีทำลายวัชพืช : ตัดหรือล้มวัชพืชต่างๆ ให้เกิดรอยช้ำ แล้วโรยปุ๋ยชีวภาพทับลงไปหรือไถพรวน จากนั้นฉีดพ่นซ้ำด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชปริมาณเข้มข้น (น้ำ 10 ส่วน ต่อน้ำหมักพืช 1 ส่วน) โดยใช้วิธีการนี้ก่อนการไถพื้นที่นาหรือใส่ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน และหลังการเก็บเกี่ยว หากทำติดต่อกัน 3 ปี สภาพดินจะร่วนซุ่ยจนไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไป

5. การปศุสัตว์
การเลี้ยงสุกร ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตร ในภาชนะแล้วปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 3 วัน จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้
- ทำความสะอาด ให้นำไปฉีดล้างคอกให้ทั่ว จะกำจัดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 24 ช.ม. หากทำซ้ำทุกสัปดาห์ น้ำล้างคอกนี้จะช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่อและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย หรือถ้าผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 100 ลิตร ฉีดพ่นตามบ่อน้ำ เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะเห็นผลใน 1 - 2 สัปดาห์
- ผสมอาหาร ให้ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 5 - 20 ถังแดง (โดยประมาณ) ให้สุกรกินทุกวันจะช่วยให้แข็งแรงมีความต้านทานโรค และป้องกันกลิ่นเหม็นจากมูลสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย กรณีลูกสุกรที่ท้องเสียให้ใช้น้ำหมักพืช (หัวเชื้อ) 5 ซี.ซี. หยอดเข้าปากจะรักษาอาการได้

หมายเหตุ : กรณีที่เลี้ยงวัว ควาย ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยผสมน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำแล้วรดฟางหรือหัวอาหารให้กิน รวมทั้งใช้ผสมในน้ำให้กินทุกวัน
การเลี้ยงไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ ใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำสะอาดให้กินทุกวันจะช่วยให้แข็งแรง ไข่ดก น้ำหนักดีอัตราการตายต่ำและมูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น หากใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำฉีดพ่นตามพื้นที่กำจัด กลิ่นแก๊ส และกลิ่นเหม็นจากมูลทุก ๆ 4 วัน และยังช่วยกำจัด การขยายพันธุ์ของแมลงวันทางอ้อมด้วย

สูตรที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี

1. น้ำหมักชีวภาพจากปลา ส่วนผสม : เนื้อปลา น้ำกรดเข้มข้น 3% กากน้ำตาล 20% และหัวเชื้อจุลินทรีย์
วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 เดือน นำมากรองกากมาทำปุ๋ย และน้ำไปฉีดพ่น
การ ใช้ประโยชน์ : ใช้อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนเหมาะแก่การเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้ในนาข้าวช่วงก่อนหว่านข้าวฉีดพ่นพร้อมสารควบคุมวัชพืช อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร และหลังหว่านข้าว 20 วัน อัตรา 50 - 60 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยเร่งการแตกกอ และเพิ่มจำนวนต้น ต่อกอ รวมทั้งใช้ฉีดพ่นข้าวระยะตั้งท้องและน้ำนมด้วย

2. น้ำหมักชีวภาพจากเศษซากพืช ส่วนผสม : เศษพืช 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 ส่วน
วิธีทำ : นำส่วนผสมรวมกันหมักทิ้งไว้นาน 3 เดือน
การใช้ประโยชน์ : ใช้เป็นปุ๋ยให้กับผัก หรือฉีดพ่นขับไล่แมลง และป้องกันกำจัดโรคบางชนิด

3. น้ำหมักสมุนไพร
3.1 พืชผักสวนครัว
ส่วนผสม : เมล็ดสะเดา 2 ก.ก หัวข่าแก่ 1 ก.ก. ตะไคร้หอม 1 ก.ก. และน้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร
วิธีทำ : นำส่วนผสมมาผสมรวมกัน
การใช้ประโยชน์ : ป้องกันเพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนคืบ เพลี้ยไฟในถั่วฝักยาว ถั่วพู แค คะน้า ฯลฯ

3.2 สวนไม้ผล
ส่วนผสม : เมล็ดสะเดา 2 ก.ก หัวข่าแก่ 1 ก.ก. ตะไคร้หอม 1 ก.ก. และน้ำหมักชีวภาพ 20 ลิตร
วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันทั้งหมดทิ้งไว้ 1 คืน แล้วใช้ผ้ากรองมาใช้ประโยชน์
การ ใช้ประโยชน์ : นำน้ำเชื้อที่ได้ 1 ลิตร ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นไม้ผลขณะแตกใบอ่อน ระยะออกดอก และมีผล เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ หนอนแก้วส้ม แมลงวันทอง ด้วงงวงมะพร้าว


สูตรที่ 3 เครือข่ายผัก โครงการพัฒนาเกษตรยั่งยืน

1. น้ำหมักสมุนไพร
ส่วนผสม : หางไหล บอระเพ็ด หนอนตายยาก ตะไคร้หอม เปลือกสะเดาหรือใบแก่ สาบเสือ ยาสูบ (ก้าน หรือใบสด ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้)
วิธี ทำ : นำส่วนผสมมาสับให้ละเอียดใส่ในโองหรือถังใส่น้ำให้ท่วมฝามือ (30 - 50 ลิตร) จากนั้นใส่เหล้าขาว 1 ขวด ตามด้วยหัวน้ำส้ม 150 ซี.ซี. (ถ้าไม่มีใส่ผลมะกรูด หรือมะนาวผ่าซีก 2 ลูก) หากมีกลิ่นเหม็นให้ใส่กากน้ำตาล หมักไว้ 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้
การใช้ประโยชน์ : ขับไล่หนอนใย หนอนกระทู้ เพลี้ยอ่อน และป้องกันกำจัดโรคเน่า โรคใบไหม้ในผักบางชนิด

2. ปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรเร่งรัด (3 วัน) ส่วนผสม : มูล (วัว, เป็ด, หมู) 1 ปี๊บ ขี้เถ้าแกลบ 1 ปี๊บ รำละเอียด 1 ก.ก. น้ำหมักชีวภาพ 50 -100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
วิธี ทำ : นำส่วนผสม มาคลุกเคล้า แล้วนำน้ำหมัก มารดให้ได้ ความชื้น 50% สังเกตได้จากกำมือแล้วแบออกปุ๋ยจะค่อยๆ แตกตัวออก ถ้าใช้ถุงพลาสติกคลุมหรือใช้กระสอบปุ๋ยหมักจะสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้เร็วขึ้น ปุ๋ยที่จะนำไปใช้ต้องหมดความร้อนก่อน
การใช้ประโยชน์ : แก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพในแปลงผักโดยใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ตันต่อไร่ (40 กระสอบ) หรือใช้น้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่นทางใบ อัตรา 30-40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 5 วัน หรือใช้ทางดิน อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ปล่อยตามท้องร่อง


สูตรที่ 4 เครือข่ายข้าว โครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืน

ส่วนผสม : เช่นเดียวกับสูตรที่ 1
วิธีทำ : เช่นเดียวกับสูตรที่ 1
การใช้ประโยชน์ : ใช้ในนาข้าวดังนี้
1. การป้องกันกำจัดวัชพืช ใช้อัตรา 3 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยปล่อยให้ไหลไปตามทางน้ำไหลเข้านา หรือจะใช้วิธีฉีดพ่น ใช้อัตรา 200 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่
2. ใช้แทนการปุ๋ยเคมี ให้เริ่มตั้งแต่ช่วงเตรียมดิน (ป้องกันกำจัดวัชพืช) และใช้ครั้งต่อไปหลังหว่านข้าว 10 - 15 วัน และใช้ต่อเนื่องทุก 10 วัน รวม 5 ครั้ง ใช้อัตรา 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร สำหรับพื้นที่ 1 ไร่
3. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่ง โดยงดการใช้ปุ๋ยแต่งหน้า แต่ใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปฏิบัติดังนี้คือ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 15 ก.ก. ต่อไร่ หลังหว่านข้าว 15 - 20 วัน แล้วใช้นำหมักในอัตราเดียวกับข้อ 2
4. ป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ โดยใช้ส่วนผสมของยาฉุน 2 - 3 ก.ก. + หนอนตายยาก 1 ก.ก. + น้ำส้มสายชู 1 ลิตร + เหล้าขาว 1 ขวด + กากน้ำตาล 1 ขวด หมักทิ้งไว้ 2 - 3 วัน แล้วฉีดพ่นในแปลงนาระยะปล่อยน้ำเข้านาช่วงเตรียมดิน ในอัตราส่วน 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร


สูตรที่ 5 อาจารย์ชลอ รุ่งกำจัด

ส่วนผสม : เศษซากพืชสด 3 ส่วน (หากเป็นเศษซากสัตว์ใช้ 1 ส่วน) และกากน้ำตาล 1 ส่วน
วิธี ทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 7 - 15 วัน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ หากต้องการขยายหัวเชื้อให้ใช้กากนำตาล 1 ก.ก. หัวเชื้อ 1 ลิตร และน้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้ 7 - 15 วัน เช่นกัน
การใช้ประโยชน์ : ฉีดพ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้หัวเชื้อน้ำหมัก 2 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3 วัน หากต้องการลดการระบาดหรือป้องกันกำจัดแมลงจำพวกเพลี้ย ใช้น้ำหมัก 1 ส่วน เหล้าขาว 2 ส่วน น้ำส้มสายชูเข้มข้น 5% 1 ส่วน และกากน้ำตาล 1 ส่วน หมักทิ้งไว้ 1 วัน แล้วใช้น้ำที่ได้จากการหมัก 2 ช้อนแกงผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นป้องกันกำจัดเพลี้ย หรือถ้าต้องการนำมาทำไวน์ ใช้จุลินทรีย์ 1 ลิตร ผสมกับน้ำตาลทรายขาว (ตามแต่ต้องการ) น้ำผลไม้ 3 ก.ก. และผงฟู 3 ช้อนแกง หรือใช้รักษาโรคฝ้า ใช้จุลินทรีย์ มะละกอสุก กล้วยน้ำว้าสุก น้ำผึ้งแท้ อย่างละ 1 ส่วน ผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 เดือน นำน้ำที่ได้ทาส่วนที่เป็นฝ้า


สูตรที่ 6 รศ.นพ. บุญเทียม เขมาภิรัตน์

ส่วนผสม : เศษซากสัตว์สด (อาทิ หอย ปลา) 1 ส่วน และน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน
วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ นำหัวเชื้อที่ได้ มาเจือจางกับน้ำในอัตรา 1 : 1,000
การ ใช้ประโยชน์ : นำน้ำที่ได้จากการเจือจางไปฉีดพ่นป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ หากต้องการนำไปใช้กับพืชผักผลไม้ให้เปลี่ยนจากเศษซากสัตว์เป็นพืชสดแทน ในอัตรา 3 ต่อ 1 ส่วน


สูตรที่ 7 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลเขาชนกัน
1. การทำหัวเชื้อน้ำหมัก
ส่วนผสม : เศษซากพืช ผัก ผลไม้ 3 ก.ก. + กากน้ำตาล 1 ก.ก. + น้ำ 10 ก.ก.
วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 15 วัน จะได้หัวเชื้อน้ำหมัก

2. การทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่
2.1 วิธีที่ 1 ทั้งตัวพร้อมเปลือก
ส่วนผสม : หอยเชอรี่ทั้งตัว 3 ส่วน + กากน้ำตาล 3 ส่วน + หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ส่วน
วิธีทำ : นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียด ผสมรวมกับส่วนผสมต่างๆ
2.2 วิธีที่ 2 จากไข่หอยเชอรี่
ส่วนผสม : ไข่หอยเชอรี่ 3 ส่วน + กากน้ำตาล 3 ส่วน + หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ส่วน
วิธีทำ : นำไข่หอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียด ผสมรวมกับส่วนผสมต่างๆ
2.3 วิธีที่ 3 จากไข่หอยเชอรี่และพืชสด
ส่วนผสม : ไข่หอยเชอรี่และส่วนของพืชที่อ่อนๆ ยาวไม่เกิน 6 นิ้ว หรือ 1 คืบ 3 ส่วน + กากน้ำตาล 3 ส่วน + หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ส่วน
2.4 วิธีที่ 4 จากเนื้อหอยเชอรี่
ส่วนผสม : เนื้อหอยเชอรี่ 3 ส่วน + กากน้ำตาล 2 ส่วน + หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ส่วน
วิธี ทำ : นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้ มาต้มในกระทะ พร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนที่พอเหมาะ เพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจากเปลือกได้ง่ายขึ้น จากนั้นนำเฉพาะเนื้อหอยเชอรี่มาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับส่วนผสมอื่นๆ ให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1
2. 5 วิธีที่ 5 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเนื้อหอยเชอรี่และพืชสด
ส่วนผสม : เนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากวิธีที่ 4 3 ส่วน + กากน้ำตาล 3 ส่วน + พืชสดบดละเอียด 1 ส่วน + หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ส่วน
วิธี ทำ : นำหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือในวิธีที่ 4 มาบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับ น้ำตาลโมลาส และชิ้นส่วนอื่นๆ ของพืชที่อ่อนๆ เหมือนกับวิธีที่ 3 ผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร (ข้อมูลจาก กศน.บ้านแพรก)

E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร (ข้อมูลจาก กศน.บ้านแพรก)
              E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ
จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของเซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย
ลักษณะโดยทั่วไปของ EM
             
 เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
ลักษณะการผลิต
           
 เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
- กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค
- กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
- กลุ่มจุลินทรีย์เอคทีโนมัยซีทส์
- กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์
ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีต
ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป
ด้านการเกษตร
- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
- ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
- ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ่ญ (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
- ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
- ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
- ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
- ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
- ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
- ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ
ด้านการประมง
- ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
- ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้
- ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
- ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี
ด้านสิ่งแวดล้อม
- ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
- ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
- ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้
การเก็บรักษาจุลินทรีย์
              
สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 C ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม
ข้อสังเกต
              
หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้) กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่ผักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M. เหมือนเดิม
              การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ การงานต่าง ๆ ดังนี้
งานด้านเกษตร
              E.M.ผสมน้ำ 1 : 1,000 – 2,000 ฉีดพ่นรดราดต้นไม้ สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง

การขยายจุลินทรีย์
              เมื่อต้องการใช้จุลินทรีย์ในงานเกษตรที่มีเนื้อที่มาก ๆ ควรใช้จุลินทรีย์ที่ได้ขยายปริมาณให้มากขึ้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน โดยให้อาหารแก่จุลินทรีย์ ได้แก่ กากน้ำตาล น้ำอ้อย น้ำตาลทรายแดง นมแดง นมข้นหวาน หรือน้ำซาวข้าว เป็นต้น การขยายจุลินทรีย์ให้กับพืช

วัสดุ
             จุลินทรีย์ กากน้ำตาล อย่างละ 1 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตร

วิธีทำ
             ผสมกากน้ำตาลกับน้ำที่สะอาด คนให้ทั่วจนกากน้ำตาลละลายหมด น้ำ E.M. ผสมในน้ำคนจนเข้ากันทั่ว ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 – 3 วัน ภาชนะที่ใช้ต้องสะอาดจะใช้ถังพลาสติกหรือตุ่ม

วิธีใช้
             เมื่อหมักไว้ตามกำหนดที่ต้องการแล้ว นำ E.M. ที่ขยายไปผสมกับน้ำละลายอีกในอัตรา EM1/น้ำ 2,000 ลิตร ฉีดพ่นรดต้นไม้ พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด ทุกวันหรือวันเว้นวันหรือสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ใช้หญ้าแห้วหรือใบไม้แห้งหรือฟางคลุมดินบริเวณโคนต้นไม้ เพื่อรักษาความชื้นและ EM ย่อยสลายเป็นอาหารของพืช และเพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นด้วย

ข้อสังเกต
            1. เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำ และกากน้ำตาลจะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2 – 3 วัน ถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
            2. EM ที่นำไปขยายเชื้อแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 3 วัน หลังจากหมักได้ที่แล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพ ที่อาจเกิดจากความไม่สะอาดของน้ำ ภาชนะ และสิ่งแปลกปลอมจากอากาศเฉพาะเชื้อ EM ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ


           ปุ๋ยชีวภาพ (ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร)   ปุ๋ยเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญ ในการผลิตพืช เนื่องจากปุ๋ยเป็นอาหารของพืช สามารถจำแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ในการเลือกใช้ปุ๋ยนั้น เกษตรกรควรศึกษา ข้อดี และข้อเสีย ของปุ๋ยแต่ละประเภท ก่อนเลือกใช้ปุ๋ยแต่ละชนิดปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดและอายุของพืช ความชื้นในดิน คุณสมบัติของดิน และวิธีการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน จะเป็นแนวทางที่สามารถช่วยให้เกษตรกรได้รับทั้งผลตอบแทนที่สูงสุด เสริมสร้างระบบการผลิตพืชแบบยั่งยืนและความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อม
         คำนิยามปุ๋ย
ความหมายโดยทั่วไป ปุ๋ย หมายถึง วัตถุหรือสารที่เราใส่ลงไปในดิน โดยมีความประสงค์ที่จะให้ธาตุอาหาร เพิ่มเติมแก่พืช ให้มีปริมาณที่เพียงพอ และสมดุลตามที่พืชต้องการใน พรบ.ปุ๋ย ปี 2518 ได้ให้คำจำกัดความปุ๋ยไว้ว่า หมายถึง สารอินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช
         ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม และปุ๋ยเชิงประกอบ และหมายความตลอดถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ หรือยิบซั่ม
         ปุ๋ยอินทรีย์
หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากอินทรียวัตถุ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธี ทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อนหรือวิธีการอื่น ๆ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ
         ปุ๋ยชีวภาพ
หมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช หรืออาจเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์ (ยุทธศาสตร์ปุ๋ยชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร. 2548-2553)
         ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ  ช่วยทดแทนปุ๋ยเคมีในพืชตระกูลถั่ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ใส่เพียงครั้งเดียวตลอดชีวิตพืช ช่วยสร้างความสมดุลของธาตุอาหารพืช ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ราคาถูก


ขั้นตอน การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองจับเต่า

สิ่งที่นักเรียนต้องทำกิจกรรม

1.นำเศษผักที่เหลือจากการขายหรือเศษผักที่เก็บมาจากสวนผักที่เขาคัดออกมาจากบ้าน(หาที่ไหนมาก็ได้)

2.นำผักมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อช่วยในการย่อยสลายได้ง่าย

3.นำเศษผักมาผสมคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล ในอัตราส่วนผสม เศษผัก 3 กิโลกรัม : กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม

4.นำไปหมักไว้ในถังหมักเป็นเวลา 3 เดือน จึงสามารถนำน้ำชีวภาพไปใช้ได้

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตรวจสอบสภาพการจราจร น้ำท่วม

คลิกตามลิงค์ได้เลยครับ

http://hermes.traffy.in.th/i/


รวมข้อมูล ศูนย์อพยพ และ ศูนย์พักพิง สำหรับผู้ประสบอุทกภัย
http://shelter.thaiflood.com/


      
       เนื่องด้วยสถานการณ์ น้ำท่วมยังคงสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนชาวไทยในหลายพื้นที่ ที่ผ่านหลายสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมผนึกกำลังจัดกิจกรรมช่วยเหลือ และบรรเทาทุกข์หลากหลายรูปแบบ อาทิ การเปิดศูนย์พักพิงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย, การรับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่ เดือดร้อน, การร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือในพื้นที่ต่าง เป็นต้น และในขณะนี้น้ำใจจากชาวมหาวิทยาลัยที่หลั่งรินไปยังคนไทยที่เดือดร้อนนั้น ยังมีอย่างต่อเนื่อง
      
       “ไลฟ์ ออน แคมปัส” จึงขอส่งกำลังแรงใจ และร่วมเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่กระจายข่าวสาร หากสถาบันอุดมศึกษา ศูนย์พักพิง หรือหน่วยงานใด ขาดแคลนสิ่งของ ตลอดจนความช่วยเหลือด้านอื่นๆ สามารถส่งข่าวผ่านเฟซบุค “ไลฟ์ ออน แคมปัส Mgr” และแฟนเพจ “Life on Campus (ASTV Manager)" หรือตอบผ่านหน้าข่าวนี้ผ่านทางคอมเมนท์ท้ายข่าวก็ได้ ล่าสุด (26ต.ค.54 : 20.29น.) เราขออัพเดทข้อมูลศูนย์พักพิงฯว่าแห่งใดยังเปิดรับผู้ประสบภัยฯ หรือปิดศูนย์ไปแล้วบ้าง
      
       ★อัพเดทข้อมูลศูนย์พักพิงช่วยเหลือผู้ประสบภัย มหาวิทยาลัยต่างๆ★
      
       *ศูนย์พักพิงฯ
มรภ.
เพชรบุรี เปิดพื้นที่เป็นศูนย์อพยพ สำหรับผู้ประสบอุทกภัย รองรับ ผู้ประสบภัยได้ 500 คน โดยมีนอน ฟูก หมอน รองรับ ได้รับการสนับสนุนเรื่องอาหารจากชุมชนในจังหวัด คาดว่าผู้ประสบภัยสามารถพักพิงนาน 1 เดือน นอกจากนี้ยังเปิดพื้นที่ใน มรภ.เพชรบุรี เป็นที่รับฝากรถของผู้ประสบภัย รองรับได้หลายร้อยคัน และได้ประสาน อบต. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดูแลความปลอดภัย สอบถามโทร. (032)493-307 ตลอด 24 ชั่วโมง
       

       *ศูนย์พักพิงฯ มทร.ธัญบุรี สั่งอพยพผู้พักพิง ด่วน! เนื่องจากปริมาณน้ำได้สูงขึ้นตามลำดับจนน่าเป็นห่วง เร่งขนย้ายผู้ประสบภัยภายใน 24 ชม. ไปยังโรงเรียนศูนย์สงครามพิเศษค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี ซึ่งทางโรงเรียนศูนย์สงครามพิเศษค่ายเอราวัณ ได้เตรียมสถานที่ในการรองรับไว้เรียบร้อยแล้ว โดยมีรถจากโรงเรียนศูนย์สงครามพิเศษค่ายเอราวัณ กว่า 30 คัน สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. 02-549-3333
      
       *ศูนย์พักพิงฯ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ประกาศอพยพผู้ประสบภัยฯ จากโรงยิมภายในศูนย์พักพิง ประมาณเกือบ 5000 คน มาที่ศูนย์พักพิงการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน และประสานไปยังวัดไร่ขิง เพื่อเปิดศูนย์พักพิงสำหรับแรงงานต่างชาติ จำนวน 200 คน โดยมีอาสาสมัครคอยอำนวยความสะดวก และยุบจุดรับบริจาคบริเวณห้างมาบุญครอง และ ต้องการชุดปฐมพยาบาล เวชภัณฑ์ อาสาแพทย์พยาบาล ติดต่อโทร 081-818-0730 หมอบี รายการยาที่ต้องการสำหรับศูนย์พังพิงรัชมังคลา อ่านรายละเอียดที่ http://yfrog.com/nujtgbjj ขณะที่ ม.รามคำแหงได้ ประสานความร่วมมือกับม.ธรรมศาสตร์เพิ่มเติม โดยประกาศเชิญชวนนักศึกษาและอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่กำลังอพยพ เข้าสู่ศูนย์พักพิงการกีฬาแห่งประเทศไทย(หัวหมาก) โดยลงชื่อได้ที่อาคารสำนักงานอธิการบดี ม.ราม ชั้นล่าง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       *ศูนย์พักพิงฯ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบภัย ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 22 ต.ค. 54 ที่ผ่านมา ให้บริการสถานที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัย ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ รองรับผู้ประสบภัยได้ประมาณ 500 คน รับเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) ดอนเมืองเท่านั้น!! ผู้ที่จะเข้าพักพิงต้องมีเครื่องนอน เอกสารการลงทะเบียนจาก ศปภ. พร้อมทั้งบัตรประจำตัว ศูนย์พักพิงฯ มก. รับบริการได้เฉพาะบุคคล หากมีสัตว์เลี้ยง ขอให้ฝากสัตว์เลี้ยงไว้ที่ ศปภ. ติดต่อสอบถาม โทร.02 942 8316
      
       *ศูนย์พักพิงฯ ม.ศรีปทุม เปิดศูนย์อพยพสำหรับผู้ประสบภัยฯ ที่อาคาร 10 มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากศูนย์อพยพผู้ประสบภัยฯ ม.ศรีปทุมอยู่ในพื้นที่เสี่ยง จึงปิดทำการ และย้ายผู้ประสบภัยไปที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ สอบถามโทร 0 2579 1111 กด 1 ดูรายละเอียดที่ www.spu.ac.th และยังได้แจ้งเปลี่ยนแปลงปฏิทินการศึกษา เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัย โดยติดตามรายละเอียดได้ที่ http://goo.gl/aIBOF
      
       *ศูนย์พักพิงฯ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดศูนย์พักพิงให้กับนักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป ที่ประสบอุทกภัย หรือต้องการความช่วยเหลือในเรื่องที่พัก สามารถติดต่อเข้าพักได้ตลอด 24 ชม. โดยทางมหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมที่พักรับรองไว้เบื้องต้นจำนวน 100 คน ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2954-7300
      
       *ศูนย์พักพิงฯ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว องครักษ์) ร่วมมือ กับจ.นครนายก ได้เตรียมอาคารศูนย์กีฬา และโรงยิมทั้ง 3 แห่ง รวมถึงได้แจ้งให้ทางจังหวัดจัดหาผ้าห่ม เสื้อผ้า ถุงนอน ไว้รองรับ ในระยะแรกมหาวิทยาลัยสามารถรองรับประชาชนได้ประมาณ 500 คน สอบถามโดยตรงที่มศว โทร. 02-649-5000 หรือติดตามข่าวสารที่ http://goo.gl/qSH52
      
       *ศูนย์พักพิงฯ ม. ขอนแก่น เปิด พื้นที่อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยจัดสถานที่พักอาศัย สุขาเคลื่อนที่ และโรงทาน พร้อมมีระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง โดยประชาชนผู้ซึ่งประสบภัยฯ สามารถแจ้งไปยัง อบต. ใกล้บ้าน ซึ่ง อบต. ต่างๆ จะนำส่งประชาชนมายังศูนย์ฯ ติดต่อสอบถาม โทร. 083-339-8077
      
       *ศูนย์พักพิงฯ มหาจุฬาฯ (มจร.) วัง น้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา วันนี้มีผู้ประสบอุทกภัยมาพักเกือบ 500 คน โดยพักที่อาคารหอฉัน อาคารเรียน เป็นที่พักพิงชั่วคราว สามารถรองรับได้อีก 100-200 คน มีหน่วยแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลวชิรภูเก็ต โรงพยาบาลอำเภอวังน้อย คณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายธรรมวิจัย, ฝ่ายฝึกอบรม, เจ้าหน้าที่กองกลาง และอาสาสมัคร อำนวยความสะดวกตลอด 24 ชั่วโมง ติดต่อโทร. 089-372-4286
      
       *ศูนย์พักพิงฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดที่พักพิงให้ครอบครัวนิสิต และบุคลากรที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งหอพักจุฬาฯ สามารถจุได้ 180 คน แยกเป็นชายและหญิงอย่างละครึ่ง แต่ไม่สามารถนำสัตว์เลี้ยงขึ้นที่พักได้ หากประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือดังกล่าว กรณีเป็นบุคลากรจุฬาฯ : ติดต่อสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ คุณลัดดาวัลย์ โทร.089-119-8013 หรือ คุณทวี โทร.086-335-8058 กรณีเป็นนิสิตจุฬาฯ : ติดต่อคุณประสาท โทร.02-218-3642, 02-218-3649, และ 081-651-3783
      
       *ศูนย์พักพิงฯ ม.มหิดล เปิดศูนย์พักพิงและบรรเทาสาธารณะภัย (MU Volunteers) เปิดพื้นที่บริเวณอาคารเอนกประสงค์ บริเวณโรงยิม ตรงข้ามสระว่ายน้ำมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถรองรับได้ประมาณ 300 คน อำนวยความสะดวกในเรื่องของลงทะเบียน ตรวจสุขภาพ คัดกรองผู้ป่วย ดูแลสุขภาพจิตใจ อาหารการกิน และที่พัก มีจัดหน่วยอาสาสมัครภาคสนามที่เป็นนักศึกษาแพทย์ คอยให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ และแจกยาเวชภัณฑ์ต่างๆ ขณะนี้ ศูนย์ฯได้ปิดรับผู้ประสบภัยฯแล้ว แต่ยังรับบริจาคสิ่งของจำเป็นต่างๆ อยู่ สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-4419516 หรือ สโมสรนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ 081-0919566 หรือ 086-6004793
      
       *ศูนย์พักพิงฯ พระจอมเกล้าลาดกระบัง ตอน นี้ยังรับทั้งอาสาที่จะมาช่วยศูนย์ทั้งวัน และเปิดรับทั้งผู้ประสบภัยฯ ได้อีก 300 คน (มากกว่านี้ได้ค่ะ แต่ต้องใช้เวลาเตรียมการล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน) ติดต่อได้ที่คอลเซ็นเตอร์ 02-329-8277, 02-329-8288, 02-329-8299 ตลอด 24 ชั่วโมง
      
       *ศูนย์พักพิงฯ ม.รังสิต เปิด ศูนย์พักพิงชั่วคราวช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ ใช้พื้นที่บริเวณชั้น 2 ชั้น 3 และชั้น 4 ของอาคารนันทนาการ (อาคาร 14) พร้อมทั้งเตรียมที่นอน อาหาร เวชภัณฑ์ หน่วยรักษาพยาบาล รถพยาบาล ตลอดจนสิ่งของอุปโภคบริโภค ฯลฯ และจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร เพื่อแจ้งความเคลื่อนไหวของสถานการณ์น้ำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง ขณะนี้ทางศูนย์ฯ สามารถรองรับผู้ประสบภัยได้อีกบางส่วน แต่หากมีจำนวนเกินกว่าที่จะรองรับได้ จะส่งต่อไปยังพื้นที่ของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา และโรงเรียนราชวินิตบางเขน และขณะนี้(24ต.ค.54 : 17.31น.)ทางศูนย์ต้องการน้ำดื่ม และข้าวกล่องอีกจำนวนมาก สอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2791-5555-85 หรือเบอร์ศูนย์ฯโดยตรง 081-373-4113 หรือติดตามข่าวสารที่ www.facebook.com/rangsituniversity
       สำหรับคอโซเชี่ยลเนตเวิร์ค ติดตามสถานการณ์และดูคำร้องขอความช่วยเหลือผ่านทวิตเตอร์
      
       @thaiflood - ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
       @Rawangpai - สถานีโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ
       @BKK_BEST - รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ท่อตัน ฝาท่อชำรุด น้ำเน่าเสีย
       @floodcenter - ศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย
       @thaiflooding - ศูนย์ข่าวรายงานการแจ้งเตือนน้ำท่วมนาที ต่อนาทีโดยอาสาสมัคร-นักศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ
       @help_thaiflood-สร้างขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
       @Asa_Thai - อาสาคนไทยช่วยน้ำท่วม
       @PR_RID - กรมชลประทาน สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สายด่วน 1460 สอบถามสถานการณ์น้ำ 026692560 (24 ชม. ช่วงวิกฤติ)
       @ndwc_Thai - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       @Aormortor - องค์การนศ.ธรรมศาสตร์ (ทวิตเตอร์ประสานงานกลางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย มธ.)
       @bangkokgovernor - ทวิตเตอร์กทม.
       @BKKFlood - ตามติดสถานการณ์กรุงเทพฯ และรอบนอก
       @SiamArsa - อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย
       @GCC_1111 - ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน
       @aunonline - Owner of Red Dane Milk @Samyarn Chula, Citizen Journalist
       @ArsaTUdomeplaza - ศูนย์อพยพ TUdomeplaza (ตรงข้ามศูนย์กีฬา มธ.รังสิต)
       @MrVop - นักข่าวพลเมือง ข่าวและข้อมูลเตือนภัยธรรมชาติ
       หรือติดตามผ่าน Facebook
      
       - แฟนเพจ "ThaiFlood ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม" _____ http://goo.gl/QYWUR
       - แฟนเพจ "อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย" _____ http://goo.gl/i1luw
       - แฟนเพจ "อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม" _____ http://goo.gl/BnKja
       - แฟนเพจ "น้ำขึ้น ให้รีบบอก" _____ http://goo.gl/M3bna
       - แฟนเพจ "The Thai Red Cross Society" _____ http://goo.gl/C3bgz
       - แฟนเพจ "อาสาสมัครเฝ้าจับตาสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพ" _____ http://goo.gl/IPWfE
       - แฟนเพจ "ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร @BKK_BEST" _____ http://goo.gl/phfiI
       - แฟนเพจ "มูลนิธิกระจกเงา The Mirror Foundation" _____ http://goo.gl/GGjvU
       - แฟนเพจ "รวมพลคนใจดี" _____ http://goo.gl/dqPze
       - แฟนเพจ "ศปภ.ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" _____ http://goo.gl/Gsama
       - แฟนเพจ "เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม2554 _____ http://goo.gl/PJngp
       - แฟนเพจ "เกษตรศาสตร์รวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม" _____ http://goo.gl/M5Aaz
       - แฟนเพจ "พระจอมเกล้าลาดกระบัง ปันน้ำใจช่วยภัยน้ำท่วม" _____ http://goo.gl/7WBmC
       - แฟนเพจ "องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.)" _____ http://goo.gl/JR0QA
       - แฟนเพจ "แนวหน้าอาสาคลองหก" _____ http://goo.gl/kLFk9
       - แฟนเพจ "เภสัชกรร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" _____ http://goo.gl/0QEDL
       - แฟนเพจ "ArsaDusit (อาสาดุสิต ประเทศไทยกลับมาสดใสดีกว่าเดิม)" _____ http://www.facebook.com/ArsaDusit
       - แฟนเพจ "ม้าเร็ว สยามประเทศ" _____ http://goo.gl/39N0l
       ★จุดรับบริจาค★
      
       * จุดบริจาค มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ปทุมวัน โทร 0-2256-4583-4, 0-2256-4427-9, 0-2251-0385 http://bit.ly/psfe5U
       * จุดบริจาค ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (8.00-21.00 น.) ทุกวันอาคารผู้โดยสารภายในประเทศชั้น 1 สนามบินดอนเมือง
       * จุดบริจาค อาสาดุสิต 1 ที่ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท ซ.2 9.00-22.00 น. รายละเอียด http://ow.ly/6vjEI
       * จุดบริจาค อาสาคนไทย (พรรคประชาธิปัตย์) www.facebook.com/AsaThai แผนที่ http://ow.ly/6Bzaj
       * จุดบริจาค กลุ่ม PS-EMC (หน้า ร.ร.ดุสิต สีลม) 7 ก.ย.-30 ต.ค. 19:30-22:30 น. รายละเอียด http://ow.ly/6zrs8
       *จุดบริจาค กลุ่มประชาชนอาสา (หน้า ร.ร.ดุสิต สีลม) 7 ก.ย.-30 ต.ค. 19:30-22:30 น. รายละเอียด http://ow.ly/6zrs8
       *จุดบริจาค กลุ่มจิตอาสาอิสระ (16 -30 ต.ค.) ชั้น 1 “อาคารดัสเชสพลาซ่า” ทองหล่อ 13-15 http://wp.me/p1jYjA-dj @jitarsarissara
       * จุดบริจาค สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ที่ส่วนบริหารงานทั่วไป ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี สอบถามโทร 3177, 3781-4 ,0-2329-8110 รายละเอียด http://ow.ly/6F81L
       * จุดบริจาค ด่านทางด่วน "ทางด่วนร่วมใจภัยน้ำท่วม" ทุกด่าน (ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม) http://ow.ly/6Ic6R
       * จุดบริจาค หอศิลปกรุงเทพ (แยกปทุมวัน) 1-30 ต.ค. โปรดบริจาคของตามรายการนี้ http://ow.ly/6K1fQ
       * จุดบริจาค 96.75MHz: สิ่งของจำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถาม 0-5581-7716-7 http://ow.ly/6r1sS
       * จุดบริจาค ระเบียงทะเล สาขาบางปู โทร.0-2709-1825 บริจาคสิ่งของ รายละเอียด http://ow.ly/6OxTi
       * จุดบริจาค ระเบียงทะเล สาขาจรัญสนิทวงศ์ 86/1 โทร.0-2879-0911-2 บริจาคสิ่งของ รายละเอียด http://ow.ly/6OxTi
       * จุดบริจาค ระเบียงทะเล สาขาบางนา กม.5 โทร.0-2743-0306 บริจาคสิ่งของ รายละเอียด http://ow.ly/6OxTi
       * จุดบริจาค ร้านแมคโดนัลด์ ทุกสาขาทั่วประเทศ รับบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำดื่ม รายละเอียด http://goo.gl/JGm6m
       * จุดบริจาค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รับบริจาคเงิน และเครื่องอุปโภค-บริโภค ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ที่ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามโทร. 0 2419 7646-56
       * จุดบริจาค สวทช. ชั้น 2 อาคาร สวทช. ถนนพระราม 6 สอบถามที่ เกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์ โทร 02-6448150-89 ต่อ 702 หรือ 081-8212089
       * จุดบริจาค ไทยช่วยไทย สู้ภัยน้ำท่วม (สน.ข่าวไทย-อสมท) รับเครื่องอุปโภคบริโภค ที่บิ๊กซี และบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า 106 สาขา ทั่วปท.
       * จุดบริจาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ที่ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ศาลาพระเกี้ยว เปิดรับบริจาคสิ่งของเครื่องใช้อุปโภค บริโภค อาหารสำเร็จรูป สามารถนำสิ่งของไปบริจาคได้ในเวลา 08.00- 20.00 น. ทุกวัน สอบถามโทร. 08-5335-9422
       * จุดบริจาค สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เปิดรับบริจาคสิ่งของเครื่องใช้อุปโภค บริโภค สามารถนำสิ่งของไปบริจาคได้ที่ตึกสำนักงานฯ แยกพญาไท สอบถามได้ที่ โทร. 02-6105416-7 ,02-6105467 (ในเวลาราชการ) หรือ นอกเวลาราชการโทร. 081-9384237 หรือ http://www.mua.go.th/flood.html
       * จุดบริจาค ที่ เซเว่น อีเลเว่น ทุกสาขา
      
       ★ ข้อมูลบริจาคเงิน★
      
       * มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์ ออมทรัพย์ เลขที่ 020-2-53333-8 หรือ ธ.กสิกรไทย สาขาถนนหลังสวน เลขที่ 082-2-66600-0 http://bit.ly/psfe5U
       * มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก ที่ Counter Service ของ 7-11 ทุกสาขา
       * มูลนิธีโอเพ่นแคร์ (www.opencare.org): บัญชี กองทุนร้อยนํ้าใจ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตลอดลำนํ้ายมมูลนิธีโอเพ่นแคร์ ธ.ไทยพาณิชย์ 402-177853-3 http://on.fb.me/oLnwNj
       * ArsaThai (พรรคประชาธิปัตย์): มูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ธ.กรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง เลขที่ 068-0-02-3607
       * อสมท: บัญชี "อสมท รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" ธ.กรุงไทย สาขาอโศก ออมทรัพย์ เลขที่ 015-015-9994-4
       * สำนักนายก: บัญชี “กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี” ธ.กรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล ออมทรัพย์ เลขที่ 067-0-06895-0 ลดหย่อนภาษีได้
       * ไทยพาณิชย์: บัญชี “มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย” สาขา ATM & SCB Easy เลขที่ 111-3-90911-5
       * กรมการศาสนา: บัญชี “สงเคราะห์พระภิกษุสามเณร และผู้ประสบภัย” ธ.กรุงไทย เลขที่ 059-1-29006-5
       * SpringNews TV: ชื่อบัญชี "ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อผู้ประสบภัย" ธ.กรุงเทพ เลขที่ 196-075084-0 http://lockerz.com/s/137860608
       * ครอบครัวข่าว 3: บัญชี "ครอบครัวข่าว 3 ช่วยผู้ประสบอุทุกภัย 54" กระแสรายวัน ธ.กรุงเทพ สาขามาลีนนท์ เลขที่ 014-3-00444-8
       * บริจาคช่วยน้ำท่วมทาง SMS: AIS/DTAC/TrueMove พิมพ์ 3 ส่ง 4567899 (10 บ/ครั้ง) มอบครอบครัวข่าว 3 http://twitpic.com/6k3gk6
       * ไปรษณีย์: ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เปิดจุดรับบริจาคเงิน ทุกที่ทำการทั่ว ปท.กว่า 2,000 แห่ง
       * กทม. : บัญชี “กองทุนกรุงเทพมหานครช่วยเหลือผู้ประสบภัย” ธ.กรุงไทย สาขาถนนข้าวสาร เลขที่ 027-0-17081-2
       * แต้มสะสม KBank Reward Point: ใช้บริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ ผ่านสภากาชาดไทย (ถึง 31 ต.ค.) รายละเอียด http://ow.ly/6z7ky
       * มูลนิธิราชประชา: บัญชี “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์” ออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 401-6-36319-9 http://t.co/HwMnGoEh
       * มูลนิธิวิจัยและพัฒนาระบบยา+กองพลที่ 1 รักษาพระองค์: เพื่อจัดซื้อ “ชุดยาสู้น้ำท่วม” รายละเอียดบริจาค http://ow.ly/6zt2w
       * สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง: บัญชี "สถาปัตย์รวมน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม" ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาย่อยเทคโนโลยีฯ เจ้าคุณทหาร เลขที่ 088-251250-8 (แจ้งยอดโอนได้ที่ 02-329-8366 คุณภานิดา ผู้มีโชคชัย หรือ Email ได้ที่: misspanida@yahoo.com รายละเอียด http://ow.ly/6F81L
       * วุฒิสภาช่วยน้ำท่วม บัญชี "วุฒิสภาช่วยน้ำท่วม ธ. กรุงไทย สาขารัฐสภา ออมทรัพย์ เลขที่ 089-0-22222-3 สอบถาม 0-2244-1777-8, 0-2244-1578 หรือ
       * @POH_Natthawut บัญชี "ทวิตสกิดใจคนไทยรักกัน" ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาโฮมโปร ราชพฤกษ์ เลขที่375-212428-9
       - จ.เชียงใหม่ บัญชี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณะภัย" ธ.กรุงไทย สาขาข่วงสิงห์ เลขที่ 547-0-37532-3
       - มหาวิทยาลัยขอนแก่นบัญชี ชื่อบัญชี "รวมน้ำใจ มข.ช่วยน้ำท่วม" ธ.ไทยพาณิชย์ หมายเลขบัญชี 402-734360-3
      
       ★ เบอร์ติดต่อฉุกเฉิน ★
      
       * หน่วยแพทย์์เคลื่อนช่วยผู้ประสบภัย (สาธารณสุข) เจ็บป่วยฉุกเฉินขอความช่วยเหลือ โทร 1669 (24 ช.ม.)
       * สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง
       * สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)
       * สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง
       * ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356
       * กรมทางหลวงชนบท 1146
       * การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
       * บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490
       * ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
       * หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง
       * มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599
       * การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง
       * กรณีเหตุฉุกเฉินในพื้นที่ จ.จันทบุรี ติดต่อ กู้ภัยสว่างกตัญญูธรรมสถานจันทบุรี 039-346347
       * ICT ตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉินแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง โทร 192 ทั่วประเทศ
       * ขอความช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส โทร 02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822 @ThaiPBS
       * ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 โทร 02-281-5443
       * ศูนย์อุทกฯ ภาคเหนือ : 053-248925, 053-262683
       * ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน โทร 053202609
       * ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ 053-222-479 (24 ชั่วโมง)
       *สถานีจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 MHz สายด่วน 1255 (โทรฟรี DTAC TRUE)หรือ 022885050 ตลอด 24 ชั่วโมง www.facebook.com/fm995

yengo ad

BumQ