Ad

Right Up Corner

Ad left side

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สิ่งที่เรามักจะนึกเสียใจก่อนเสียชีวิต



> > สิ่งที่เรามักจะนึกเสียใจก่อนเสียชีวิต

> > โดย : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ pasu@acc.chula.ac.th

> > โดยนักเขียนผู้นี้เคยทำงานดูแลผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าจะเสียชีวิตและกลับไปอยู่ที่บ้านเพื่อรอวันตาย
> > โดยเธอจะอยู่
> > กับผู้ป่วยเหล่านี้ในช่วงสามถึงสิบสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิต
> > โดยในช่วงเวลาดังกล่าว เธอ
> > ได้มีโอกาสพูดคุย และรับฟังความในใจของผู้ป่วยเหล่านี้
> > เมื่อถามถึงสิ่งที่เสียใจหรือสิ่งใดๆ ก็ตามที่ถ้าทำ
> > ได้อยากจะย้อนอดีตไปเปลี่ยนแปลงนั้น
> > เธอพบว่ามีอยู่ห้าประเด็นที่มักจะพบในผู้ป่วยที่กำลังใกล้เสียชีวิต
> > เป็นส่วนใหญ่ครับ

> > ประเด็นแรก คือ
> > ผู้ป่วยเหล่านี้อยากจะมีความกล้าที่จะใช้ชีวิตตามแบบที่ตนเองอยากหรือต้องการจะเป็น
> > ไม่ใช่ดำรงชีวิตตามความต้องการหรือความคาดหวังของผู้อื่น < BR>> > ซึ่งพบว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยอยากจะ
> > เปลี่ยนแปลงมากที่สุดครับ
> > เนื่องจากเมื่อผู้ป่วยพบว่าชีวิตตนเองกำลังจะสูญเสียไป และมีโอกาสมองย้อน
> > กลับไปในอดีตนั้น จะพบว่ามีความฝันหลายๆ
> > อย่างที่ยังไม่ได้เริ่มต้นทำหรือยังไม่บรรลุ และเมื่อใกล้จะ
> > เสียชีวิตก็จะพบว่าความฝันของตนเองนั้นจะไม่มีวันบรรลุ
> > และส่วนใหญ่ก็มักจะมานั่งนึกเสียใจ เพราะ
> > สาเหตุที่ไม่สามารถทำตามความฝันได้นั้น เป็นเพราะตัวเองเลือกที่จะไม่ทำเอง
> > ตัวเองเลือกที่จะทำตาม
> > สิ่งที่ผู้อื่นขีดเส้นทางให้เดิน

> > ถือเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับทุกๆ ท่านนะครับ ที่ในช่วงชีวิตหนึ่ง
> > ถ้ามีโอกาสและเลือกได้ก็ควรจะเดิน
> > ตามความฝันของตัวท่านเอง เพราะคนเราหนีไม่พ้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย
> > และเมื่อวันนั้นมาถึง เราก็คง
> > จะไม่มีแรงที่จะเดินตามความฝันที่เราต้องการแล้ว
> > การมีสุขภาพที่ดีจะช่วยทำให้ท่านเดินตามความฝันได้
> > แต่เมื่อใดก็ตาม ที่สุขภาพท่านเริ่มแย่แล้ว
> > อิสระในการเดินตามฝันก็ท่านก็จะลดน้อยลง

> > ประเด็นที่สอง คือ ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิตเหล่านั้น
> > คิดเสียใจว่าในอดีตจะไม่ได้ทำงานหนักเหมือนที่ผ่านมา
> > ซึ่งเหตุการณ์นี้ มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยชายเกือบทุกคนเลยครับ
> > คุณผู้ชายเหล่านี้มักจะเสียใจว่าในอดีตที่ผ่าน
> > มา ไม่ค่อยได้มีเวลาในการดูแลลูกๆ ของตนเท่าที่ควร
> > รวมทั้งไม่ได้อยู่เป็นคู่ทุกข์คู่ยากภรรยาเท่าที่ควร
> > ผู้ป่วยที่เป็นชายเกือบทุกคนจะรู้สึกเสียดายว่าในอดีตใช้
> > และให้เวลากับงานมากเกินไป

> > ข้อสังเกตนี้ก็น่าคิดนะครับ
> > ว่าในปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับการทำงานมากเกินไปหรือไม่ เราต้องการ
> > แสวงหารายได้ ชื่อเสียง เกียรติยศมากเกินไปหรือไม่
> > สุดท้ายเมื่อเราใกล้ตายเราจะสำนึกเสียใจว่า
> > เราได้พลาดโอกาสดีๆ ในชีวิตที่ไม่มีวันหวนกลับมาหรือไม่
> > การมีรายได้ที่พอเพียงอาจจะเป็นทางออก
> > สำหรับทุกท่านนะครับ อีกทั้งการมีที่ว่า งในตารางเวลาและชีวิต
> > ที่ไม่ใช่เรื่องของการทำงานเพียงอย่าง
> > เดียว จะทำให้เรามีความสุขขึ้น และเมื่อเราใกล้เสียชีวิต
> > จะไม่มานั่งย้อนนึกเสียใจในสิ่งที่เราพลาดไป

> > ประเด็นที่สาม คือ
> > ผู้ป่วยอยากจะกล้าที่จะแสดงอารมณ์และความรู้สึกที่แท้จริงของตน
> > เนื่องจากคนจำนวน
> > มากจะปิดกั้นอารมณ์และความรู้สึกที่แท้จริงของตน
> > เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสงบและสันติ ทำ
> > ให้สุดท้ายแต่ละคนรู้สึกว่าอารมณ์ของตนเองถูกเก็บกด
> > และไม่สามารถเป็นตัวตนที่แท้จริง

> > ประเด็นที่สี่ คือ ผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิตนั้น
> > มักจะเสียใจที่ไม่ได้ติดต่อเพื่อนฝูงเก่าๆ เนื่องจากเรามักจะไม่
> > ค่อยเห็นถึงคุณค่าของเพื่อนเก่าๆ จนกระทั่งใกล้เสียชีวิต
> > คนจำนวนมากจะมัวแต่ยุ่งและวุ่นวายกับชีวิต
> > ประจำวัน จนละเลยต่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนฝูง
> > ทำให้เรามักจะไม่ค่อยให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูง
> > ต่างๆ จนกระทั่ง ใกล้จะเสียชีวิต ก็จะเริ่มนึกถึงเพื่อนฝูงขึ้นมา

> > ดูเหมือนว่าเมื่อคนใกล้จะเสียชีวิต เกียรติยศ เงินทอง หรือสถานะทางสังคมต่างๆ
> > กลับดูไปจะด้อยหรือ
> > ไร้ความหมายนะครับ สุดท้ายดูเหมือนว่า เรื่องของความรัก
> > ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะกลายเป็นสิ่งที่
> > ผู้ป่วยที่กำลังใกล้ตายนึกถึง

> > ประเด็นสุดท้าย ซึ่งค่อนข้างน่าแปลกใจ คือ
> > ผู้ป่วยเหล่านี้กลับสำนึกเสียใจว่าไม่ได้ทำให้ชีวิตที่ผ่านมาของ
> > ตนเองมีความสุขเท่าที่ควร
> > ผู้ป่วยหลายคนจะไม่เคยนึกถึงมาก่อนนะครับว่าตนเองสามารถที่จะเลือกที่จะ
> > ทำให้ชีวิตมีความสุขได้ คนจำนวนมากเลือกที่จะอยู่และปฏิบัติในสิ่งที่คุ้นเคย
> > ความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง
> > ทำให้คนเรามักจะหลอกตนเองว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นมีความสุข ซึ่งจริงๆ
> > แล้วกลับไม่ใช้

> > ท่านผู้อ่านจะเห็นได้นะครับว่าเมื่อคนเราใกล้จะตายนั้น
> > เรามักจะนึกย้อนกลับไปถึงอดีต และเริ่มสำนึก
> > เสียใจในสิ่งที่ได้ท ำหรือไม่ได้ทำมาในอดีต และเราจะพบว่าเมื่อเราใกล้ตายแล้ว
> > เงินทอง ชื่อเสียง
> > สถานะ เกียรติยศต่างๆ กลับไม่มีความหมาย สิ่งที่มีความหมายเมื่อใกล้ตาย คือ
> > เรื่องของความรักและ
> > ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
> > ซึ่งหลายครั้งกลับกลายเป็นสิ่งที่เราละเลยหรือไม่สนใจในขณะที่เรามีชีวิตอยู่

> > นอกจากนี้ เมื่อใกล้ตาย
> > คนเราจะพบว่าชีวิตในอดีตที่ผ่านมานั้นเรามีสิทธิที่จะเลือก
> > แต่เราดันเลือกในสิ่ง
> > ที่ไม่ได้ทำให้เรามีความสุข หรือเลือกในสิ่งที่ทำให้เราต้องมาย้อนสำนึกเสียใจ
> > เมื่อเราใกล้ตาย ดังนั้น
> > ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่และยังแข็งแรง เราจะต้องเลือกอย่างมีสติ
> > เลือกอย่างฉลาด เลือกในสิ่งที่ถูก
> > และเลือกในสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขนะครับ


อ่านข้อความนี้แล้ว มีความเห็นต่างออกไปนิดหนึ่ง คือ
การที่เราตัดสินใจทำสิ่งที่ขัดกับความรู้สึกหรือความต้องการของตัวเองในอดีต อาจเพราะไม่ต้องการทำให้คนที่เรารักเสียใจ
ถ้าคนที่เรารักดีใจเราก็พลอยมีความสุขไปด้วย มิใช่หรือ
ถ้าย้อนกลับไปทำตามใจตัวเองได้ แล้วสิ่งนั้นทำให้คนที่เรารักเสียใจ
ก็จะเป็นตราบาปติดค้างในใจ พอใกล้ตายก็จะเสียใจอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้น จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ทำวันนี้อย่างมีสติ ไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆ ไม่ว่าสุขหรือทุกข์
อย่างเดียวที่ต้องระวัง คืออย่าประมาทในการก่อเวรก่อกรรม
สำหรับตัวเองแล้ว สิ่งที่จะเสียใจ และอยากทำก่อนตายคือ ขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรทุกคน

yengo ad

BumQ