Ad

Right Up Corner

Ad left side

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

วันตรุษจีน Chinese New Year

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99

ตรุษจีน (จีนตัวเต็ม: 春節; จีนตัวย่อ: 春节; พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (จีน: 正月, พินอิน: Zhēngyuè) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (จีน: 除夕, พินอิน: Chúxī) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ"
ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและ ประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่ มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิม ฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม
ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ
แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี พ.ศ. 2555 เป็น "ปีจีน" 4710, 4709 หรือ 4649


ตรุษจีนในประเทศไทย

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
  • วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา
  • วันไหว้
    • ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย" (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
    • ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ" (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตาม คติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
    • ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่งขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
  • วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" หรือ ภาษาฮกเกี้ยน "ก้าม" (橘) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ (吉) [1] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล (เสมือนมี 吉 ประกอบกัน 4 ตัว กลายเป็น 𡅕) ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

[แก้] ตรุษจีนในภูเก็ต

ชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน โดยส่วนมากเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนและจีนช่องแคบ(เปอรานากัน) จะมีระยะวันตรุษจีนทั้งสิ้นรวม 9 วันนับตั้งแต่ขึ้นปีใหม่จะต่างกับชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งวันตรุษจีนจะสิ้นสุดลงในวันที่ 7 โดยวันตรุษจีนของชาวภูเก็ตจะสิ้นสุดลงเมื่อหลังเที่ยงคืนของวันที่ 9 หรือ วันป่ายทีก้องไหว้เทวดา และ จะถือประเพณีปฏิบัติไหว้อยู่ 6 วัน ได้แก่ก่อนตรุษจีนไหว้ 2 วัน และ หลังตรุษจีนไหว้ 4 วัน คือ
  • วันส่งเทพเจ้าเตาไฟขึ้นสวรรค์
    • ในวันที่ 24 ค่ำ เดือน 12 จ้าวฮุ่นกงเสด็จขึ้นสวรรค์เพื่อเข้าเฝ้าหยกอ๋องซ่งเต้ เพื่อกราบทูลเรื่องราวต่างๆภายในหนึ่งปีของเจ้าบ้านทั้งดีและชั่วจามบัญชีที่ได้จดบันทึก
      • ภาคเช้า เจ้าบ้านเตรียมผลไม้ 3 -7 อย่าง เพื่อสักการะเทพเจ้าทั้งสามแห่งโดยเฉพาะหน้าเตาไฟในครัวเรือนจ้าวฮุ่นกง
  • วันไหว้บรรพชน
    • คือวันสุดท้ายของเดือน 12 บางตำนานกล่าวว่าเทพเจ้าทั้งปวงจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ในช่วง วันที่ 28 -30 จะจัดเครื่องเซ่นไหว้ตามจุดดังนี่
      • ทีก้อง หรือ หยกอ๋องซ่งเต้ และเทพเจ้าทั้งบ้าน บ้านของคนจีนฮกเกี้ยนภูเก็ต จะมีป้ายและที่ปักธูปเทียนอยู่ทางซ้ายมือของหน้าบ้าน
      • เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ เทพเจ้าประจำตระกูล ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงห้องโถ่งของหน้าบ้าน เป็นเทพเจ้าประจำบ้านที่นับถือกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
      • บรรพชน จ้อกง จ้อม่า จ้อกงโป๋ บรพพบุรุษที่ล่วงลับ
      • จ้าวอ๋อง หรือ จ้าวฮุ่นก้อง คือเ เทพเจ้าครัวหรือ เทพเจ้าเตาไฟ
      • โฮ่เฮียตี่ คือ ไหว้บรรดาวิญญาณผีไม่มีญาติ
      • หมึงสิน คือ ไหว้เทพเจ้าประจำประตูบ้าน หรือ ทวารบาล บ้าน
    • ช่วงเวลาจะเซ่นไหว้ มี 3 เวลาคือ
      • เวลาเช้า ประมาณ 7 - 8 นาฬิกา ไหว้ทีก้อง เทพเจ้าบ้าน และจ้าวฮุ่นก้อง (ป่ายสินเทียนก๊วน/拜神天官)
      • เวลา ประมาณ 11 นาฬิกา ถึง ก่อนเทียงวัน ไหว้บรรพบุรุษ จ้อกง จ้อม่า และบรรพชน (ป่ายจ้อกง/拜祖公)
      • เวลา ประมาณ 15 -16 นาฬิกา ไหว้โฮ่เฮียตี่ บรรดาผีไม่มีญาติ (ป่ายโฮ่เฮียตี่/拜好兄弟)
    • เครื่องเซ่นไหว้ตามแบบของชาวจีนฮกเกี้ยน
      • เวลาเช้าไหว้ทั้ง 3 แห่งดั้งนี้
        • ทีก้อง
          • หมูต้ม 1 ชิ้น
          • หมี่เหลืองดิบ
          • ปูต้ม
          • กุ้งต้ม
          • หมึกแห้ง
          • สุราขาวจีน
          • เทียนก้องกิม(กระดาษทองฮกเกี้ยนแผ่นใหญ่)
        • เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ ประจำตระกูล
          • หัวหมู 1 หัว
          • หมี่เหลืองดิบ
          • ปูต้ม
          • กุ้งต้ม
          • หมึกแห้ง
          • สุราขาวจีน
          • ไก่ต้มมีหัว
        • เทพเจ้าเตาไฟ หรือ จ้าวฮุ่นก้อง
          • หมี่เหลืองดิบ
          • ปูต้ม
          • กุ้งต้ม
          • หมึกแห้ง
          • สุราขาวจีน
            • อาหารที่ไหว้เสร็จจากช่วงเช้าทุกชนิดนำไปประกอบอาหารเพื่อนไหว้ในช่วง บ่าย และเย็นต่อไป
      • เวลาบ่ายไหว้ จ้อกง จ้อม่า บรรพชน
        • ผลไม้ 3 - 7 ชนิด
        • ขนมหวาน
          • ตี่โก้ย (ขนมเข่ง )
          • ฮวดโก้ย (ขนมถ้วยฟู)
          • อั้งกู้โก้ย (ขนมเต่า)
          • บีโก้ (ข้าวเหนียวดำกวน)
          • แป๊ะทงโก๊
          • ก่าวเตี่ยนโก้ย (ขนมชั้น)
        • อาหารคาว
          • ผัดบังกวน (ผัดมันแกว)
          • โอต้าว (หอยทอดฮกเกี้ยน หารับประทานได้ที่ภูเก็ต)
          • ผัดบีฮุยะ (ข้าวเหนียวผัดกับเลือดหมูและกุ้ยช่าย)
          • ปลาทอดมีหัวมีหาง 1 ตัว
          • ต้าวอิ่วบ๊ะ (หมูผัดซีอิ๋ว)
          • ทึ่งบะกู๊ดเกี่ยมฉ่าย (ต้มจืดผักกาดดองซี่โคร่งหมู)
          • แกงเผ็ดไก้ใส่มันฝรั่ง
          • ผัดผัก ประกอบด้วย ซวนน่า กะหล่ำปลี ก่าเป๊ก
          • โปเปี๊ยะสด
          • โลบะ พร้อมน้ำจิ้ม
          • ซำเซ่ง;หง่อเซ่ง (เนื้อสัตว์ 3-5 ชนิด)
          • ข้าวสวย 5 ถ้วย พร้อมตะเกียบ
          • เต๋ (น้ำชา) 5 จอก
          • จุ๊ย (น้ำเปล่า) 1 แก้ว
          • สุราขาว 5 จอก
      • เวลาเย็นไหว้ โฮ่เฮียตี่
          • องุ่น (ภาษาฮกเกี้ยน โป่โต๋)
          • แอปเปิล (ภาษาฮกเกี้ยน เป่งโก้)
          • สับปะรด (ภาษาฮกเกี้ยน อ่องหลาย)
          • ของไหว้จากช่วงเช้าแล้วแต่เจ้าบ้านจะนำไปทำเป็นอะไร
  • ไหว้วันขึ้นปีใหม่
    • วันที่ 1 ค่ำ เดือน 1 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเช้าเรียกว่า ป้ายเฉ่งเต๋ ด้วยการนำผลไม่มาไหว้เทพเจ้าประจำบ้าน
  • วันรับเสด็จจ้าวฮุ่นก้องเทพเจ้าเตาไฟ
    • ในที่ 4 ค่ำ เดือน 1 จะทำการ เชี้ยสิน เชิญพระจ้าวฮุ่นก้องกลับมาอยู่ยังบ้านในครัวเช่นเดิม โดยไหว้ตอนเช้า ของเซ่นไหว้ดังนี่
      • ผลไม้
      • เต่เหลี่ยว (จันอับ ของฮกเกี้ยนกับแต้จิ๋วจะมีเครื่องประกอบไม่เหมือนกัน)
      • โอต้าว (เพื่อเป็นกาวติดเงินติดทองที่จ้าวฮุ่นก้องนำมาให้จากสวรรค์)
      • น้ำชา
      • กระดาษไหว้เจ้า
  • วันป้ายจ่ายสินเอี๋ย หรือ วันไหว้เทพเจ้าไฉสิ่งเอี้ย
    • วันที่ 5 ค่ำ เดือน 1 เทพเจ้าแห่งโชคลาภจะเสด็จจากสวรรค์ตามฤกษ์ยามของแต่ละปี เพื่อลงมาประทานโชคลาภ
  • วันป่ายทีก้องแซ (拜天公) ไหว้เทวดา วันประสูติหยกอ๋องซ่งเต้
    • วันไหว้เทวดา ซึ่งเป็นวันที่สืบเนื่องต่อจากวันตรุษจีนเพียง 8 วัน หรือที่ชาวจีนเรียกว่า เก้าโหง็ย-โช่ยเก้า ถี่ก้งแซ้ซ่ง ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นวันเกิดของ หยกอ๋องซ่งเต้ เทพผู้เป็นใหญ่บนสรวงสวรรค์ที่ชาวจีนให้ความเคารพบูชาซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้ กัน โดยในวันไหว้เทวดาของชาวจีนจะนิยมถือปฏิบัติกันในวันขึ้น 9 ค่ำ และสิ่งที่ขาดมิได้ในวันนั้น คือเครื่องเซ่นไหว้ที่นำมาประกอบในพิธีบูชาเทวดา หยกอ๋องซ่งเต้ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ หง่อซิ่ว หรือ เครื่องน้ำตาลทำเป็นรูป 5 ชนิด และ ต้นอ้อย มีความเชื่อว่ามีครั้งหนึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงชาวฮกเกี้ยนทุกรุกรานจาก ญี่ปุ่นจึงพากันไปหลบแอบในดงอ้อย จนญี่ปุ่นกลับไป และตรงกับวันป่ายทีก้องพอดีชาวฮกเกี้ยนเลยเชื่อว่าเป็นเพราะหยกอ๋องซ่งเต้ช่วยชีวิตเอาไหว้จึงนำอ้อยมาไหว้ด้วย

[แก้] ประเพณีปฏิบัติ

  • สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

[แก้] คำอวยพร

ในตรุษจีน ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรือคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กัน ได้แก่
  • 新正如意 新年發財 / 新正如意 新年发财 (แต้จิ๋ว: ซิงเจี่ยยู้อี่ ซิงนี้หวกไช้; จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: ซินเจี่ยหยู่อี่ ซินนี่ฮวดจ๋าย; จีนแคะ: ซินจึ้นหยู่อี๋ ซินเหนี่ยนฟั่ดโฉ่ย) แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
  • 新年快樂 / 新年快乐 (จีนกลาง: ซินเหนียนไคว่เล่อ) นิยมใช้ในประเทศจีน
  • 恭喜發財 / 恭喜发财 (จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: หย่งฮี้ฮวดจ๋าย)
  • 過年好 / 过年好 (จีนกลาง: กั้วเหนียนห่าว) ใช้โดยชนพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศจีน วลีนี้ยังหมายถึงวันที่หนึ่งถึงวันที่ห้าของปีใหม่ด้วย
  • 大吉大利 (ฮกเกี้ยน: ตั่วเก็ตตั่วลี่) แปลว่า ความมงคลอันยิ่งใหญ่ ค้าขายได้กำไร
  • 招财进宝 (ฮกเกี้ยน: จ่ายหงวนก้องกิม) แปลว่า เงินทองไหลมา
  • 金玉满堂 (ฮกเกี้ยน: กิ้มหยกมมั่วต๋อง) แปลว่า ทองหยกเต็มบ้าน
  • 万事如意 (ฮกเกี้ยน: บ่านสู่หยู่อี่) แปลว่า ทุกเรื่องสมปรารถนา
  • 福壽萬萬年/ 福寿万万年 (จีนกลาง: ฝูเชี่ยวหวันวันเลี่ยน; ฮกเกี้ยน: ฮกซิ่วบันบั่นนี่) แปลว่า อายุยืนพันๆ ปี
  • 家好運氣 / 家好运气(จีนกลาง: จาห่าวเยียนชี; ฮกเกี้ยน: เก่โฮ่อุ๊นคิ) แปลว่า โชคดีเข้าบ้าน
  • เกียโฮ่ซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ อีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน
  • 年年大赚钱 (ฮกเกี้ยน: หนีนี้ตั๊วถั่นฉี่) แปลว่า ปีนี้ร่ำรวยมหาศาล
  • เป๋งอิ่วเตียวคิ ในภาษาฮกเกี้ยน แปลว่า เพื่อนมิตรมีสุข

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ตำนาน อาถรรพ์ ศุกร์ 13

เมื่อเอ่ยถึงวันศุกร์ 13 นั้นหลาย ๆ คนอาจจะนึกไปถึงวันแห่งอาถรรพ์ เพราะเคยมีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งใช้ชื่อว่า ศุกร์ 13 ฝันหวาน แต่เป็นภาพยนตร์สยองขวัญ ในขณะที่อีกหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบความเป็นมาว่า ทำไมวันศุกร์ 13 ถึงเป็นวันที่ไม่ดี


ว่ากันว่าความเชื่อที่ว่าถ้าวันศุกร์เกิดไปตรงกับวันที่ 13 ของเดือนใดก็ตามแล้ว จะกลายเป็นวันแห่งความโชคร้ายนั้นเป็นความเชื่อของชาวตะวันตก โดยต้นตอแห่งความเชื่อนี้มาจาก อาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The Last Supper) โดยเชื่อกันว่าในอาหารมื้อนั้นมีผู้ร่วมรับประทานอาหารกับพระองค์ 13 คนก่อนที่พระองค์จะถูกนำตัวไปตรึงบนไม้กางเขนใน วันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday)

ในขณะที่มีอีกความเชื่อหนึ่งกล่าวว่าวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 1307 เป็นวันที่พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ทำการจับกุมตัวบรรดาอัศวินเทมพลาร์ชาวฝรั่งเศสจำนวนหลายร้อยคนไป ก่อนจะนำตัวไปทรมานและสังหาร เพื่อนำทรัพย์สินของพวกเขามาเป็นของฝรั่งเศส

ทั้งนี้นักจิตวิทยาพบว่า ในบางคนจะมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือล้มป่วยในวันศุกร์ที่ 13 ซึ่งมีการให้เหตุผลเอาไว้ว่าเป็นเพราะบางคนรู้สึกวิตกจริตเป็นอย่างมากในวันศุกร์ที่ 13 โดยทางศูนย์จัดการความเครียดและสถาบันอาบำบัดการกลัวในเมืองแอชวิลล์ มลรัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเมินว่าในแต่ละครั้งที่มีวันศุกร์ที่ 13 สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นเงิน 800 - 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทีเดียว เพราะว่าประชาชนบางคนไม่กล้าเดินทางไปไหนและไม่กล้าแม้แต่จะไปทำงาน


จนทำให้เกิดโรคกลัววันศุกร์ที่ 13 มีชื่อเรียกว่า Paraskavedekatriaphobia หรือ paraskevidekatriaphobia หรือfriggatriskaidekaphobia ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของโรค triskaidekaphobia คือ โรคกลัวหมายเลข 13

และที่มาที่ทำให้วันศุกร์ 13 กลายเป็นวันโชคร้ายไปทั่วนั้นน่าจะมาจากภาพยนตร์สยองขวัญอย่าง ศุกร์ 13 ฝันหวาน หรือ "Friday the 13th" ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับฆากรต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวเอกของเรื่องมีเอกลักษณ์เด่นคือการสวมหน้ากากฮ็อกกี้ เพื่อปกปิดใบหน้า ก่อนทำการฆาตกรรมเหยื่อ

สำหรับความเชื่อเรื่อง ศุกร์ 13 เป็นวันไม่ดีนั้นส่วนใหญ่จะเชื่อกันในหมู่ชาวตะวันตกเสียเป็นส่วนมาก ซึ่งเรื่องแบบนี้นั้นถือเป็นเรื่องของความเชื่อส่วนบุคคลค่ะ


อีกกระแส
ความเชื่อที่ว่าถ้าวันศุกร์เกิดไปตรงกับวันที่ 13 ของเดือนใดก็ตามแล้ว จะกลายเป็นวันแห่งความโชคร้ายนั้น เป็นความเชื่อที่อยู่ในบรรดาชาติที่พูดภาษาอังกฤษทั่วโลก และยังขยายไปถึงชาติอื่นๆอีกด้วย และในประเทศบางประเทศอย่าง กรีซ สเปน ถือเอาวันอังคารที่ 13 เป็นวันโชคร้ายเช่นกัน สำหรับโรคกลัววันศุกร์ที่ 13 มีชื่อเรียกว่า Paraskavedekatriaphobia หรือ paraskevidekatriaphobia หรือ friggatriskaidekaphobia ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของโรค triskaidekaphobia คือ โรคกลัวหมายเลข 13
      
       จุดเริ่มต้นความเชื่อเรื่องศุกร์ 13 นั้น เชื่อมโยงกับความเชื่อที่ว่ามีคน 13 คนร่วมทานอาหารมื้อสุดท้ายกับพระเยซู (The Last Supper) ก่อนที่พระองค์จะถูกนำตัวไปตรึงบนไม้กางเขนในวันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday) กระนั้น ไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ว่า ประชาชนถือเอาว่าวันศุกร์ที่ 13 เป็นวันโชคร้ายจนเมื่อมาถึงศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ตาม หมายเลข 13 มีประวัติว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องโชคร้ายมายาวนาน เนื่องจาก ตามปฏิทินจันทรสุริยคติแล้ว ในบางปีต้องมีเดือน 13 เดือน ขณะที่ตามปฏิทินเกรกอเรียนและปฏิทินของศาสนาอิสลามจะมี 12 เดือนเสมอ
      
       ขณะ ที่บ้างก็ว่า ความเชื่อนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากความเชื่อและตำนานของชาวนอร์สในดินแดนสแกน ดิเนเวียที่เรียกว่า Norse myth เกี่ยวกับเทพ 12 องค์ มารวมกันจัดงานเลี้ยงในห้องโถงของเอกีร์ เทพแห่งมหาสมุทร แต่แล้วเทพแห่งไฟที่ชื่อ โลกิ ซึ่งไม่ได้รับเชิญมาร่วมงานจึงพังประตูรั้วเข้ามาร่วมงานในฐานะแขกคนที่ 13 และยังให้เทพฮอดซึ่งเป็นเทพแห่งความมืดมิดซึ่งตาบอดโยนกิ่งของพืชกาฝากใส่ บาลเดอร์ เทพแห่งความสุขและความยินดี จนบาลเดอร์สิ้นลมหายใจไปในทันที ทำให้โลกต้องตกอยู่ในความมืดมิดและความเศร้าสลด

      
       กระนั้น ความเชื่อนี้มีผู้แย้งว่าเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากข้อความในบทกวีโลกาเซนนาที่เป็นภาษาโอลด์นอร์สได้มีการกล่าวถึง ชื่อเทพ 17 องค์ที่ไปร่วมงานเลี้ยงดังกล่าว ซึ่งระบุว่าเทพโลกิเป็นผู้พังประตูรั้วเข้าไปจริง แต่ว่าเขาไม่ใช่คนที่ 13 และยังไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างบทดังกล่าวกับการถึงจุดจบของเทพบาลเดอร์อีก ด้วย

      
       ด้วยเหตุนี้ คำอธิบายในข้อแรกจึงดูมีความเชื่อมโยงกับเรื่องความโชคร้ายของเลข 13 ที่เก่าแก่ที่สุดในอังกฤษ ซึ่งมีการบันทึกเอาไว้ในศตวรรษที่ 18 โดยเชื่อกันว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่คน 13 คนมานั่งทานอาหารร่วมโต๊ะเดียวกันแล้ว คนที่ลุกจากโต๊ะไปเป็นคนแรกจะเป็นคนแรกที่ต้องตาย

      
       อีกทฤษฏีที่กล่าวถึงวันศุกร์ที่ 13 ระบุว่า วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 1307 เป็นวันที่พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ทำการจับกุมตัวบรรดาอัศวินเทมพลาร์ชาวฝรั่งเศสจำนวนหลายร้อยคนไป ก่อนจะนำตัวไปทรมานและสังหาร เพื่อนำทรัพย์สินของพวกเขามาเป็นของฝรั่งเศส

      
       ทั้งนี้ เรื่องที่น่าแปลกเกี่ยวกับวันศุกร์ที่ 13 คือ มีหลักฐานที่ยืนยันว่า วันศุกร์ที่ 13 เป็นวันโชคร้ายสำหรับใครบางคนจริงๆ โดยนักจิตวิทยาพบว่า ในบางคนจะมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือล้มป่วยในวันศุกร์ที่ 13 ซึ่งมีการให้เหตุผลเอาไว้ว่าเป็นเพราะบางคนรู้สึกวิตกจริตเป็นอย่างมากในวัน ศุกร์ที่ 13 โดยทางศูนย์จัดการความเครียดและสถาบันอาบำบัดการกลัวในเมืองแอชวิลล์ มลรัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเมินว่าในแต่ละครั้งที่มีวันศุกร์ที่ 13 สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นเงิน 800 – 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯทีเดียว เพราะว่าประชาชนบางคนไม่กล้าเดินทางไปไหนและไม่กล้าแม้แต่จะไปทำงาน

yengo ad

BumQ